ข่าวกิจกรรม

Seagrass Ecology and Marine Debris

 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จัดโครงการนิเวศวิทยาแหล่งหญ้าทะเลและขยะทะเล Seagrass Ecology and Marine Debris ให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเบญจมราชูทิศ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 120 คน ในวันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2566 ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรเทพ วิรัชวงศ์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม กล่าวต้อนรับคณะครูและนักเรียน ณ หอประชุมพันตรีเพียร จรรย์สืบศรี

การศึกษาระบบนิเวศทางทะเล โรงเรียนวิเชียรมาตุ

 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จัดโครงการ “การศึกษาระบบนิเวศทางทะเล” ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 ห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนวิเชียรมาตุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ในวันพุธที่ 27 กรกฏาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

มทร.ศรีวิชัย ขับเคลื่อน SDGs 14

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ผศ. โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง และ ผศ.ดร.ชาญยุทธ สุดทองคง คณะกรรมการขับเคลื่อนด้านการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (Life Below Water) ร่วมหารือเพื่อสนองนโยบาย “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)” โดยองค์การสหประชาชาติได้แบ่งเป้าหมายการดำเนินงานออกเป็น 17 ข้อ ตามมิติต่างๆ ออกเป็น 5 มิติได้แก่ สังคม (People) เศรษฐกิจ (Prosperity) สิ่งแวดล้อม (Planet) สันติภาพและสถาบัน (Peace) และหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) (Sustainable Development Goals: SDGs)

คณบดีนำเสนอข้อมูล ต่อคณะติดตามงานของ พอช.

 

ผศ.ดร.ประเสริฐ ทองหนูนุ้ย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง หัวหน้าโครงการวิจัยนวัตกรรมโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวเชื่อมโยงธุรกิจประมงในพื้นที่ชายฝั่งตอนล่าง สนับสนุนงบประมาณโดย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ทางทะเล หลักสูตรการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ตรงปก ไม่จกตา

 

International Online Seminar and Training Program

 

นักศึกษาวิทย์-ประมง เข้าร่วมเรียนและฝึกปฏิบัติเรื่อง Internet of Plants (IoP) : “Raspberry Pi” ใน International Online Seminar and Training Program (supported by JST: Sakura Science Program)

บรรยายพิเศษโดย ดร.กรอร วงษ์กำแหง

 

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.กรอร วงษ์กำแหง ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บรรยายพิเศษในหัวข้อ 20 ปีของการศึกษาความหลากหลายชนิดของแกมมาริดแอมฟีพอดในประเทศไทย ให้กับนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 – 4 หลักสูตรวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยมี ผศ.ดร.ชาญยุทธ สุดทองคง และ อาจารย์ ดร.ศิลปชัย เสนารัตน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทางทะเล เข้าร่วมรับฟังบรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านระบบออนไลน์ Google Meet ในวันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564

International Online Seminar and Training Program

 

วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 นักศึกษาจาก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จำนวน 2 คน คือ นางสาวมาตา สุวรรณคีรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล และนายกิตติพงศ์ เป้าทอง สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นตัวแทนของคณะฯเข้าร่วม International Online Seminar and Training Program on Advanced Research in Agriculture, Forestry and Marine Science at Kochi University – Thinking about innovation in primary industries through data science technology (supported by JST: Sakura Science Program) โดย Kochi University ประเทศญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ